ศูนย์ประวัติศาสตร์ช่องเขาขาด

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นอนุสรณ์สถานแด่เชลยศึกและพลเรือนทั้งชายและหญิงที่ได้รับความทุกข์ทรมานและเสียชีวิตในการก่อสร้างทางรถไฟสายไทย – พม่า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2

 

 

ศูนย์ประวัติศาสตร์ช่องเขาขาดเปิดรับสมัครเจ้าหน้าที่บัญชี ดาวน์โหลด >> รายละเอียดงาน 

ดาวน์โหลด >> โครงการนักศึกษาฝึกงาน (University Student Experience Program)

ดาวน์โหลด >> ประกาศวันหยุดของศูนย์ช่วงปลายปี 2566 - กลางปี 2567

 

 

 

 

ภาพถ่าย วันแอนแซกเดย์

ANZACย่อมาจาก Australian and New Zealand Army Corpsซึ่งเป็นชื่อเรียกกองกำลังทหาร ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ พร้อมด้วยเหล่าทหารจากสหราชอาณาจักร อินเดีย และฝรั่งเศส ที่ได้ยกพลขึ้นบก ณ ชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรแกลลิโปลี (Gallipoli) เพื่อเปิดฉากยุทธการดาร์ดาเนลส์ในสงครามโลก ครั้งที่ 1 เมื่อรุ่งอรุณของวันที่ 25 เมษายน พ.ศ.2458

ดูแกลลอรี่

รูปภาพพิพิธภัณฑ์

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกให้แก่แรงงานและนักโทษสงครามพันธมิตรที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตลง

ดูแกลลอรี่

ภาพเส้นทางเดินเท้า

เส้นทางเดินเท้าตามแนวทางรถไฟสายไทย – พม่า เปิดให้เดินจากช่องเขาขาดไปจนถึงช่องหินตก 2.5 กิโลเมตร ถ้าท่านใดวางแผนที่จะเดินทางยาว กรุณาสวมรองเท้าผ้าใบ หรือรองเท้าบู๊ต เสื้อแขนยาวและเตรียมน้ำดื่มให้พร้อม ท่านจะต้องแน่ใจว่าร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมที่จะเดินทางยาว

ดูแกลลอรี่

ศูนย์ประวัติศาสตร์ช่องเขาขาด

พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นอนุสรณ์สถานแด่เชลยศึกและพลเรือนทั้งชายและหญิงที่ได้รับความทุกข์ทรมานและเสียชีวิตในการก่อสร้างทางรถไฟสายไทย – พม่า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดได้ทำพิธีเปิดโดยนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ฯพณฯ John Howard ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายออสเตรเลีย และพลเอก วัฒนชัย วุฒิศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ตัวแทนฝ่ายไทย ในวันที่ 24 เมษายน2541
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ.2482 มีกรรมกรชาวเอเชียและเชลยศึกประมาณ 100,000 คน ที่ได้รับความทุกข์ทรมานและเสียชีวิตจากการสร้างทางรถไฟสายนี้ รัฐบาลออสเตรเลียจึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ในการรำลึกถึงผู้ได้รับความทุกข์ทรมานและเสียชีวิต
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นโครงการร่วมระหว่างกรมการทหารผ่านศึกประเทศออสเตรเลียและรัฐบาลไทย เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2541โดยบริษัท Hewitt Design Associates ที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบพิพิธภัณฑ์เป็นผู้ออกแบบในส่วนนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์และป้ายข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยวตามทางเดิน และมีบริษัทWoods Bagot(Thailand) ซึ่งเป็นบริษัทออสเตรเลียที่มาตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นผู้ออกแบบตัวอาคาร
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดมีการจัดแสดงเรื่องราวประวัติการสร้างทางรถไฟสายไทย – พม่า และยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาวออสเตรเลียอีกด้วย หลังจากที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และจุดชมวิวแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินชมเส้นทางเดินเท้าไปยังช่องเขาขาด

อ่านเพิ่มเติม

เส้นทางเดินเท้า

เส้นทางเดินเท้าตามแนวทางรถไฟสายไทย – พม่า เปิดให้เดินจากช่องเขาขาดไปจนถึงช่องหินตก 2.5 กิโลเมตร ถ้าท่านใดวางแผนที่จะเดินทางยาว กรุณาสวมรองเท้าผ้าใบ หรือรองเท้าบู๊ต เสื้อแขนยาวและเตรียมน้ำดื่มให้พร้อม ท่านจะต้องแน่ใจว่าร่างกายอยู่ในสภาพพร้อมที่จะเดินทางยาว
แผนที่เส้นทางเดินเท้า

โบรชัวร์

โบรชัวร์ pdf

ข้อมูลผู้เยี่ยมชม

พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดเปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น.

พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดรวมถึงเส้นทางเดินเท้าปิดทำการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

  • 13-15 เมษายน เทศกาลสงกรานต์
  • 5 ธันวาคม – วันชาติไทย
  • 24 -27 ธันวาคม – ช่วงวันคริสต์มาส
  • 31ธันวาคม – วันสิ้นปี
  • 1 มกราคม - วันขึ้นปีใหม่

อนุสรณ์สถานที่ทุ่มเทให้กับคนงานชาวเอเชียและนักโทษสงครามพันธมิตรที่เสียชีวิตในการก่อสร้างและบำรุงรักษาทางรถไฟสายไทย – พม่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework