พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดและทางเดินเท้า
- Details
- Super User
- Sample Data-Articles
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดและทางเดินเท้า
อนุสรณ์สถานช่องเขาขาด
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นอนุสรณ์สถานแด่เชลยศึกและพลเรือนทั้งชายและหญิงที่ได้รับความทุกข์ทรมานและเสียชีวิตในการก่อสร้างทางรถไฟสายไทย – พม่า ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดได้ทำพิธีเปิดโดยนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย ฯพณฯ John Howard ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายออสเตรเลีย และพลเอก วัฒนชัย วุฒิศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ตัวแทนฝ่ายไทย ในวันที่ 24 เมษายน2541
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเริ่มในปี พ.ศ.2482 มีกรรมกรชาวเอเชียและเชลยศึกประมาณ 100,000 คน ที่ได้รับความทุกข์ทรมานและเสียชีวิตจากการสร้างทางรถไฟสายนี้ รัฐบาลออสเตรเลียจึงได้สร้างพิพิธภัณฑ์ขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถาน ในการรำลึกถึงผู้ได้รับความทุกข์ทรมานและเสียชีวิต
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นโครงการร่วมระหว่างกรมการทหารผ่านศึกประเทศออสเตรเลียและรัฐบาลไทย เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2541โดยบริษัท Hewitt Design Associates ที่มีชื่อเสียงด้านการออกแบบพิพิธภัณฑ์เป็นผู้ออกแบบในส่วนนิทรรศการของพิพิธภัณฑ์และป้ายข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยวตามทางเดิน และมีบริษัทWoods Bagot(Thailand) ซึ่งเป็นบริษัทออสเตรเลียที่มาตั้งอยู่ในประเทศไทยเป็นผู้ออกแบบตัวอาคาร
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดมีการจัดแสดงเรื่องราวประวัติการสร้างทางรถไฟสายไทย – พม่า และยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาวออสเตรเลียอีกด้วย หลังจากที่เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์และจุดชมวิวแล้ว นักท่องเที่ยวยังสามารถเดินชมเส้นทางเดินเท้าไปยังช่องเขาขาด
กระทรวงการทหารผ่านศึกของประเทศออสเตรเลียได้มีการพัฒนาปรับปรุงพิพิธภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่ดีเมื่อมาเยือนสถานที่แห่งนี้ พิพิธภัณฑ์ได้นำเครื่องโสตทัศนศึกษามาบริการให้แก่นักท่องเที่ยวมาเป็นเวลาหลายปี และได้การตอบรับอย่างดีเรื่อยมาจากนักท่องเที่ยวจำนวนมากรวมทั้งคณะทัวร์ ซึ่งเครื่องนี้จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับประวัติช่องเขาขาดและคำสัมภาษณ์ของอดีตเชลยศึกสามารถใช้ทั้งในพิพิธภัณฑ์และทางเดิน มีให้บริการ 4 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาดัตช์ และภาษาญี่ปุ่น
ทุกวันนี้พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาดและเส้นทางเดินเท้า 2.5 กิโลเมตร อยู่ในความดูแลของกรมการทหารผ่านศึกของประเทศออสเตรเลีย