ช่องค้อนและสิ่ว
- Details
- HFP
- Sample Data-Articles
สถานีที่19 ช่องค้อนและสิ่ว
ไม่มีการใช้เครื่องจักรในการสร้างช่องเขานี้ นั่นเป็นเหตุผลที่ว่าช่องเขานี้ตั้งชื่อตามวิธีที่สร้างมันขึ้นมา นั่นคือ ตอกสิ่ว
บิล เฮสเกล “การขุดเจาะหินพวกนี้ทำโดยวิธีที่พวกเขาเรียกว่า ตอกสิ่ว มันคือการเจาะโดยใช้มือ คนหนึ่งจะทำหน้าที่ถือสิ่วเหล็ก ส่วนอีกคนจะทำหน้าที่ตอกมันด้วยค้อน”
นอร์แมน แอนเดอร์ตั้น “บางครั้งค้อนก็ตอกพลาดไม่โดนสิ่วแล้วไปกระแทกมือใครสักคน” ทรัพยากรทุกอย่างในป่า จะถูกนำมาใช้ ไม้สักขนาดหนักและต้นไม้เนื้อแข็งชนิดอื่นๆจะถูกโค่น เพื่อนำมาสร้างไม้หมอนรางรถไฟและเสาคํ้าสะพาน ไม้จะถูกตัดและขนส่ง บางครั้งจะมีการใช้ช้างเพื่อยกของหนัก
วิลเลี่ยม นันเคอร์วิต “ถ้าเจ้าช้างไม่คิดว่ามันจะยกไหว ก็ไม่มีอะไรที่จะมาโน้มน้าวมันให้ลองยกดูได้ มันจะหันหลังแล้วเดินจากไป”
ทอม ยูเรน “ตอนนั้นเองที่ผมเลิกชอบช้าง เพราะช้างมีสภาพการทำงานที่ดีที่สุดในโลก พวกมันทำงานแค่ 2 ชั่วโมงแล้วพักผ่อนตลอดทั้งวัน แต่คนออสเตรเลียแก่ๆอย่างเราต้องทำงานทั้งวัน”
ส่วนใหญ่ไม้ซุงและไม้หมอนจะถูกแบกโดยเชลย
ซีรีล กิลเบิร์ต “ไอ้ยุ่นคนนี้กระโดดโลดเต้นไปมาต่อหน้าผม เพราะเรากำลังแบกซุงโดยใช้คน 6 คน ต่อท่อน ทั้งที่เขาบอกกับเราให้ใช้ 4 คนต่อท่อน แล้วผมก็บอกว่า เรายกมันไม่ไหวหรอก นั่นเลยเป็นตอนที่เขาสั่งให้ผมวางแขนลงบนซุง แล้วเงื้อดาบของเขาขึ้น ผมคิดว่าต้องเสียมือแน่แล้ว ได้แต่รอ รอ รอ และรอ แต่คมดาบก็ไม่ฟาดลงมา แต่เรายังต้องแบกซุงโดยใช้คน 6 คนต่อท่อนอยู่”
เชลยเป็นกลุ่มจะทำหน้าที่แบกไม้หมอน ทำการขุดเจาะโดยใช้ตอกสิ่ว วางไม้หมอน และวางรางรถไฟ
รอยด์ คอนฟอร์ด “เราจะวางซุงหลายท่อนลงบนทางรถไฟทุกวัน ตอนเริ่มต้นมันก็ง่ายอยู่หรอก แต่พอฤดูฝนมาเยือนและเมื่อเรายิ่งออกห่างจากค่าย เราก็ต้องใช้เวลานานขึ้นเพื่อไปยังทางรถไฟ ดังนั้นเราอาจจะต้องออกไปทำงานช่วงกลางวันและไม่ได้กลับมาที่ค่ายจนกระทั่งเวลาตีสองหรือตีสาม แน่นอนว่าคุณจะโดนทุบตีในระหว่างนั้น ถ้าคุณไม่วัดระยะห่างของรางให้ดี ตอกตะปูไม่เร็วพอ หรือเคลื่อนไหวช้า”
นายแพทย์ รอยด์ คาฮิลล์ ค้นพบประโยชน์แบบใหม่ของรางที่เพิ่งถูกวาง “ผมพบว่าถ้าคุณคลานไปบนรางรถไฟ คุณสามารถหย่อนเอวไว้ตรงกลางราง แล้วนอนหลับได้อย่างสบาย ซ่องของพวกญี่ปุ่นมันมาถึงในป่า โดยอาศัยทางรถไฟ แล้วผู้หญิงตัวเล็กๆพวกนี้ก็กระโดดออกมาจากรถบรรทุกข้าว พวกนั้นแต่งตัวเหมือนพยาบาล ผู้ชายทุกคนจะมีตั๋วเหมือนกับที่คุณได้ตามสวนสนุก”
ผู้หญิงที่มาถึงบนรถไฟเที่ยวดึก ถูกเรียกว่านางบำเรอ และพวกเธอก็เป็นนักโทษเหมือนกัน
โทมัส สมิธ “แต่ผมสงสารผู้หญิงพวกนี้ พวกเราว่าแย่แล้ว แต่ผมว่าพวกเธอแย่ยิ่งกว่า”
ในหมู่เชลยมีบางคนที่มีทักษะพิเศษ ซึ่งช่วยบันทึกเรื่องราวที่ไม่มีวันลบเลือนเกี่ยวกับความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นบนทางรถไฟสายพม่า – ประเทศไทย
สถานีที่ 20 ซึ่งเป็นสถานีต่อไป จะบอกเล่าเรื่องราวของวิธี่ที่เชลยใช้สร้างความบรรเทิงให้ตัวเองรวมถึงงานศิลปะที่พวกเขาสร้างขึ้น