สถานีที่ 7 บริเวณสว่านหัก

รอยที่อยู่บนผนังหิน แสดงให้เห็นวิธีที่ใช้เจาะหินร่องรอยแนวตั้งและแนวนอนคือรอยการขุดเจาะ หากมองใกล้ๆคุณจะเห็นปลายสว่านที่หัก ที่คาเนื้อหินมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อใกล้ถึงจุดสิ้นสุดของการขุดเจาะครั้งใหญ่ครั้งนี้ กองทัพของจักรวรรดิญี่ปุ่นที่รีบร้อนอยากสร้างทางรถไฟให้เสร็จก็ส่งเครื่องมือไฟฟ้ามาแต่ใช้ได้ไม่นานก็ชำรุดหมด

รอย คอร์นฟอร์ด “เราเคยต้องแบกถังนํ้าไปบนทางรถไฟ เวลาที่คุณเจาะรูบนไม้หมอนคุณต้องเทนํ้าลงไปด้วย เพราะตอนแรกเรามีสว่านไฟฟ้าแต่ไม่นานมันก็พังเราเลยต้องใช้มือทำแทน คุณต้องเทนํ้าไปเรื่อยๆไม่อย่างนั้นสว่านก็จะร้อนเกินไป”

มีอันตรายมากมายสำหรับคนที่ทำการก่อสร้างทางรถไฟอย่างแรกคือการที่เชลยที่เหนื่อยล้าและบาดเจ็บต้องเผชิญกับโรคร้ายในเขตร้อนและปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการขาดสุขอนามัยที่ดี การดูแลคนป่วย หยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคเป็นหน้าที่ของทุกคน

บิลดัน มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ด้วย “ดันลอปผ่าตัดให้ผมและช่วยชีวิตผมไว้ ผมไม่นึกเลยว่าตัวเองจะรอด”

สถานีที่ 8 ซึ่งเป็นสถานีต่อไป จะไปสำรวจผลงานอันน่าทึ่งของแพทย์ อย่างเซอร์เอ็ดเวิร์ด เวี่ยรี่ ดันลอปและบรรดาผู้ช่วยของพวกเขา

 

 

Go to top
JSN Dona 2 is designed by JoomlaShine.com | powered by JSN Sun Framework